ประวัติความเป็นมา

งานประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานสังกัดกองกลาง สังกัดสำนักงานอธิการบดี

ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519

มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลงานวิจัย นวัตกรรม และกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งส่งเสริมดูแลรักษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับของสาธารณชน ตลอดจนแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา

ในขณะนั้น มีอัตรากำลังเป็นข้าราชการเพียง 3 อัตรา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีเพียง 10 คณะ 1 สถาบันและ 2 สำนัก

ต่อมามหาวิทยาลัยฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วยตัวแทนจากคณะ สำนัก สถาบัน โดยมีประธานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ เป็นผู้ดูแลและควบคุมงานประชาสัมพันธ์ และได้ริเริ่มกิจกรรม และดำเนินงานการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯ ในทางปฏิบัติได้แยกการ ดำเนินงานออกจากกองกลางแต่ยังคงสังกัดกองกลาง

ต่อมามหาวิทยาลัย ฯ ได้แต่งตั้งผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์ และประธานคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์ขึ้นตรงต่ออธิการบดี/รองอธิการบดีที่ได้รับมอบหมาย เพื่อควบคุมดูแลงานด้าน ประชาสัมพันธ์ตามวาระของการดำรงตำแหน่งของอธิการบดีในแต่ละสมัย และในปี พ.ศ. 2535 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ ได้ดำเนินการเสนอโครงการจัดตั้งสำนักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ได้หยุดชะงักด้วยหมดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้บริหาร ในปี พ.ศ.2551 ได้มีการให้ปรับโครงสร้างงานประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีความชัดเจนในการปฏิบัติงาน โดยมีผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์กำกับดูแลงานประชาสัมพันธ์ และขึ้นตรงกับ อธิการบดี/รองอธิการบดีที่กำกับกองกลาง แต่ให้ชะลอการปรับโครงสร้างเนื่องจาก มหาวิทยาลัยฯ เตรียมการสำหรับการเปลี่ยนสถานะภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ปัจจุบัน

ปัจจุบันงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง มีรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นผู้กำกับและภารกิจของงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง โดยรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนายุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร กำกับดูแลในส่วนของการสื่อสารองค์กรหมดวาระพร้อมอธิการบดี ควบคุมภารกิจโดยผู้อำนวยการกองกลาง และหัวหน้างานประชาสัมพันธ์ ดูแลบริหารงาน

หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่และจัดการเรียนการสอนด้านการเกษตรซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ มาเป็นระยะเวลายาวนานและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดการเรียนการสอนหลักที่บางเขน และ วิทยาเขต อีก 3 แห่ง คือ วิทยาเขตกำแพงแสน วิทยาเขตศรีราชา วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร รวมทั้งยังมี โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี และสถาบันสมทบอีก 2 แห่ง คือ วิทยาลัยการชลประทาน และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิร

ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนที่ครอบคลุมทุกแขนงวิชา

  • บางเขน มีหน่วยงาน 16 คณะ | 5 สำนัก | 4 สถาบัน
  • บางเขน มีหน่วยงาน 16 คณะ | 5 สำนัก | 4 สถาบัน
  • บางเขน มีหน่วยงาน 16 คณะ | 5 สำนัก | 4 สถาบัน
  • บางเขน มีหน่วยงาน 16 คณะ | 5 สำนัก | 4 สถาบัน

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานบริการและสนับสนุนการศึกษาอีกหลายหน่วยงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และการเจริญเติบโตขององค์กร ดังนั้น การสื่อสารและการส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร จึงมีความสำคัญและเป็นเครื่องมือในการบริหารมหาวิทยาลัยในอนาคต เพื่อให้ก้าวทันต่อเหตุการณ์ ทันโลกในยุคดิจิทัล ด้วยเหตุผลดังนี้

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558 จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการบริหารงานสื่อสารและภาพลักษณ์ ขององค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในทุกภาคส่วน
  • การสื่อสารและส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร จะมีความชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้นั้น มหาวิทยาลัย จะต้องมีกระบวนการที่ชัดเจน และระบบการประสานงานที่ดี รวมทั้งการเชื่อมโยงอย่างบูรณาการเพื่อ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยงานประชาสัมพันธ์ มีแผนการปฏิบัติราชการรายปี โดยเฉพาะด้านการพัฒนาการสื่อสารและส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร หน่วยงานที่ชัดเจน เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรเชิงรุกและบูรณาการร่วมกัน
  • เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภายใน และวิทยาเขต นิสิตเก่า หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรมสื่อสารองค์กร และการผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ ให้บรรลุตามเป้าหมายหลักของแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และแผนปฏิบัติ ราชการของงานประชาสัมพันธ์
  • มหาวิทยาลัยมีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งหน่วยงานสนับสนุนจำนวนมาก ทำให้ข้อมูล ผลงาน กิจกรรมต่าง ๆ กระจายไม่เป็นศูนย์กลาง และขาดเอกภาพในการด้านสื่อสารและส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร
  • เพื่อให้การบริหารงานด้านการสื่อสารและส่งเสริมภาพลักษณ์ การผลิตสื่อต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมี ความยั่งยืน และเป็นศูนย์กลางการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันของบุคลากร นิสิต ประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้ง สื่อมวลชนทุกแขนง

ดังนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องมีการบริหารงานด้านการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการส่งเสริมภาพลักษณ์อย่างต่อเนื่อง

และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และเป็นศูนย์กลางของข้อมูลข่าวสาร สื่อต่างๆ ที่ครอบคลุมให้มีเอกภาพ และมีการบริหารจัดการ การตัดสินใจ
การบริหารบุคคล การบริหารการเงิน ได้อย่างคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการสื่อสารองค์กร การส่งเสริมภาพลักษณ์ การผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ผลงาน นวัตกรรม และกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยและหน่วยงาน วิทยาเขตให้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  2. เพื่อบูรณาการการสื่อสาร และพัฒนาการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งมีมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับสากล
  3. เพื่อส่งเสริมและรักษาภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรอย่างยั่งยืน
  4. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงาน สถาบัน สื่อมวลชนและประชาชน
  5. เพื่อให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารและการบริหารงานด้านการสื่อสารและส่งเสริมภาพลักษณ์ ของมหาวิทยาลัย
  6. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและรวบรวมข้อมูล ข่าวสารของทุกหน่วยงาน ตลอดจนเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ออกสู่สาธารณชน ทั้งภายใน และภายนอก ให้มีประสิทธิภาพ
  7. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันให้มีความร่วมมือ และมีความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืน อันนำมาสู่การเป็นผู้นำในการสร้างกิจกรรมทางสังคมและสาธารณะประโยชน์ร่วมกัน

ภารกิจ

เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดูแลส่งเสริมภาพลักษณ์ องค์กรและผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข่าวสารข้อมูล กิจกรรมต่าง ๆ ของ มหาวิทยาลัยฯ การถ่ายภาพ ถ่ายวีดิโอ และการผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการจัด ทำสื่อ social media ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันและอนาคตที่เทคโนโลยีจะก้าวหน้า อย่างไม่หยุดนิ่ง

  • เพื่อพัฒนาการสื่อสารและประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในเชิงรุก (Proactive Public Relations หรือ PPR) โดยนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารสมัยใหม่ การสื่อสาร องค์กร การประชาสัมพันธ์และการตลาด แบบผสมผสานมาบูรณาการ ร่วมกันเพื่อ ประชาสัมพันธ์ความเป็น มหาวิทยาลัยชั้นนำ ให้มีมาตรฐานและมีคุณภาพทางวิชาการ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
  • เพื่อเป็นการสื่อสาร ส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร “สร้างสรรค์อย่างบูรณาการ ทันสมัย และช่วยเหลือสังคม” โดยนำ “ศาสตร์แห่งแผ่นดิน” สู่การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ อย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยทั้งในเชิงบวกและลบ นำเสนอต่อผู้บริหารเพื่อประโยชน์ ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย
  • เพื่อผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ และเผยแพร่ตามช่องทางต่าง ๆ ได้กว้างขวาง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย