สรุปข่าวในรอบสัปดาห์ วันที่ 3 - 9 มิถุนายน 2548
|
|
ข่าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | |
1. ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย 2005 (ข่าวสด 3 มิ.ย.)
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ “ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย ICTED 2005” ในระหว่างวันที่ 23-24 มิถุนายน 2548 เวลา 09.00-16.00 น. ณ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มก.
2. นักวิจัยไทยเจ๋งใช้สมุนไพรฆ่าปลวก (เอ็กไซด์ไทยโพสต์ 4 มิ.ย.)
ปัญหา “ ปลวกกินบ้าน “ ถือเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่คนไทยประสบอยู่ตอนนี้ เนื่องจากปลวกสามารถ
ทำลายบ้านเรือนให้เสียหายโดยสิ้นเชิงในระยะเวลา 3-5 ปี จากปัญหาที่กล่าวมาทำให้ รศ.ดร.สุรพล วิเศษสรรค์ อาจารย์
ประจำภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ได้คิดค้นสมุนไพรกำจัดปลวกขึ้นโดยใช้เวลาในการคิดค้นนาน
ร่วม 20 ปี เนื่องจากไม่ต้องการให้คนไทยต้องเสี่ยงชีวิตกับการใช้สารเคมีในบ้าน เพราะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งได้สูง
3. เยาวชนสมองแก้ว (ไทยโพสต์ แทบลอยด์ 5 มิ.ย.) รศ.ยืน ภู่วรวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ค่ายเยาวชนสมองแก้ว เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ถูกประยุกต์ให้เหมาะสมกับลักษณะนิสัยของเยาวชนในวัยนี้ที่ชอบคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ทั้งนี้ได้เน้นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม กล่องสมองกล สร้างสรรค์อิเล็กทรอนิกส์ สอนให้พัฒนาซอฟต์แวร์ในการควบคุมกลไกต่างๆ ฝึกให้เยาวชนคุ้นเคยกับเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ และรู้จักการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นผ่านการทำงานเป็นทีมและระดมความคิดเห็นร่วมกัน
4. กอล์ฟชิงชนะเลิศมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (แนวหน้า 5 มิ.ย.)
5. Welcoming New Comers (Academic year 2005) (คม ชัด ลึก 6 มิ.ย.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงาน “Welcoming New Comers” (Academic year 2005) ขึ้นเป็นครั้งแรกในวันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2548 เวลา 08.30 – 13.00 น. ที่ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล ชั้น 1 อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2942-8181-3
6. กษ. เปิดเวทีแห่งชาติรวมพลถกพัฒนา “ข้าวโพด – ข้าวฟ่าง” (แนวหน้า , เดลินิวส์ 7 มิ.ย. , เดลินิวส์ 9 มิ.ย.) นายอลงกรณ์ กรณ์ทอง ผอ.สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร และ ม.เกษตรศาสตร์ จัดประชุมวิชาการข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ ครั้งที่ 32 ระหว่างวันที่ 13-15 กรกฎาคม 2548 ที่โรงแรม ไพลิน อ.เมือง จ.สุโขทัย เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้เสนอผลงานวิจัยด้านข้าวโพดและข้าวฟ่าง รวมทั้งเป็นเวทีให้ผู้เกี่ยวข้องด้านต่างๆ พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการผลิตและการค้าในอนาคต
7. NWO ได้ 8 นักศึกษาร่วมโครงการปีที่ 2 (มติชน 7 มิ.ย.) นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรรมการผู้อำนวยการ เอไอเอส เปิดเผยว่า จากโครงการ NWO Project เป็นโครงการกระตุ้นศักยภาพของเยาวชนไทย ที่แม้ยังอยู่ในสถานภาพนักศึกษา แต่ก็สามารถทำให้สายตาหลายๆ คู่ของผู้ใหญ่ต้องหันมามองด้วยความทึ่ง และชื่นชมในพลังความคิด ความสามารถของพวกเขาที่มีอยู่ในตัวของเยาวชน เพียงแต่รอเวทีแสดงเท่านั้น และเชื่ออีกด้วยว่าการเปิดเวทีให้เยาวชนแสดงพลังความคิดเชิงสร้างสรรค์ จะช่วยจุดประกายให้สังคมก้าวต่อไปอย่างไม่ขาดช่วง ไม่ขาดรุ่นด้วยวิธีการใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ ซึ่งปีที่ผ่านมา เอไอเอส เปิดตัว NWO Project (New World Order) หรือ "โครงการพลังเล็กที่ยิ่งใหญ่” เป็นโครงการนำร่องแรกของไทยที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าสู่ประสบการณ์ทำงานจริง 1 ปีเต็มกับองค์กรธุรกิจ ก่อนกลับไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ซึ่งในปีแรก NWO Project ได้รับนักศึกษาทั้งสิ้นจำนวน 4 คนเข้าสู่ประสบการณ์ทำงานกับเอไอเอส 8. เค ยู เฟิร์ส … นวัตกรรมอาหารปลอดภัย (ไทยรัฐ 7 มิ.ย.)
ม.เกษตรศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์วิจัยนวัตกรรมอาหารและบริการที่ปรึกษา KU-FIRST (เค ยู เฟิร์ส) ให้บริการทางวิชาการแก่ธุรกิจในกลุ่มคลัสเตอร์อาหาร ตั้งแต่บริษัทแปรรูปอาหารข้ามชาติ จนถึง ร้านค้าโอทอป รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ โดยได้ให้บริการคำปรึกษาแก่ภาคเอกชน 400-500 รายต่อปี และมีการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยกระบวนการผลิตอาหารแปรรูป ประมาณ 40-50 โครงการต่อปี นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยขั้นพื้นฐาน ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอาหารจำนวนกว่า 100 เรื่อง |
|
ข่าวทั่วไป | |
1. สกอ. ปรับสูตรแจกโบนัส ขรก. คนละ 2 เดือน (เดลินิวส์ 7 มิ.ย.) ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มีมติจัดสรรเงินโบนัสให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำปี 2548 ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ว่า สำนักงบประมาณได้จัดสรรเงินมาให้ สกอ. เรียบร้อยแล้ว จำนวน 71 ล้านบาท และขณะนี้ สกอ. กำลังปรับแผนการจัดสรรเงินใหม่ เนื่องจากแผนที่ทำไว้เดิมนั้น ข้าราชการชั้นผู้น้อยจะได้รับการจัดสรรน้อยเกินไป ส่วนผู้บริหารระดับสูงก็ได้มากเกินไป ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมจึงต้องปรับสูตรการจัดสรรเงินใหม่ ซึ่งจะทำให้ได้รับเฉลี่ยคนละไม่ต่ำกว่า 2 เดือน คาดว่าในสัปดาห์นี้ทุกอย่างจะเรียบร้อย และสามารถจัดสรรเงินให้แก่ทุกคนได้ ส่วนกรณีที่แต่เดิม สกอ. มีแนวคิดจะแบ่งเงินโบนัสบางส่วนเข้ากองทุนสวัสดิการข้าราชการ สกอ. เพื่อนำเงินส่วนดังกล่าวไปช่วยเหลือข้าราชการเมื่อมีเรื่องเดือดร้อน อีกทั้งเสียงของข้าราชการส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย เพราะเชื่อว่าการแบ่งเงินเข้ากองทุนน่าจะเป็นประโยชน์และถึงตัวข้าราชการมากกว่านั้น แต่เนื่องจาก ก.พ.ร. บอกว่าเงินนี้ควรจะจ่ายถึงตัวบุคคล ดังนั้นจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับกระทรวงการคลังว่าจะทำได้หรือไม่ 2. มหาวิทยาลัยสนองรัฐประหยัดพลังงาน (สยามรัฐ 3 มิ.ย.) ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปได้ร่วมกันประหยัดพลังงาน ด้วยการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และขับรถยนต์ด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งในส่วนของมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็ให้ความร่วมมือเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ รวมทั้งมาตรการรณรงค์ให้นิสิตมีสำนึกประหยัดไฟฟ้า และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการประหยัดพลังงานด้วย 3. ทปอ.ร่อนหนังสือค้านวุฒิฯ แก้กฎหมาย ม.กำกับรัฐ (ไทยรัฐ 8 มิ.ย.) ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยบูรพา แก้ไขสาระสำคัญหลายประการ จนนำไปสู่การตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภานั้น ศ. (พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้หารือถึงประเด็นต่างๆ ที่ทางวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม และมีความเห็นเสนอต่อนายอดิศัย โพธารามิก รมว.ศึกษาธิการ เพื่อขอให้ชี้แจงทำความเข้าใจกับคณะกรรมการประสานงานวิปรัฐบาล และชี้แจงต่อกรรมาธิการร่วม 2 สภา เช่น ส.ว.จะกำหนดให้มหาวิทยาลัยห้ามปฏิเสธ การรับผู้เรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์นั้น ทปอ. เห็นว่าไม่จำเป็นต้องบังคับไว้เป็นกฎหมาย เพราะมหาวิทยาลัยก็ให้การช่วยเหลือเด็กที่ขาดแคลนอยู่แล้ว การกำหนดไว้ตายตัวจะทำให้เกิดปัญหาได้ในภายหลัง หรือกรณีที่ ส.ว.กำหนดให้สภาบุคลากรมีบทบาทกำกับดูแลการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยด้วยนั้น เป็นสิ่งที่ ทปอ.เห็นว่า ผิดหลักการบริหาร ที่จะให้ผู้ใต้บังคับบัญชามากำกับดูแลการบริหารงานของอธิการบดี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา และอธิการบดีก็มีสภามหาวิทยาลัยกำกับดูแลการบริหารงาน ซึ่งมีตัวแทนของสภาบุคลากรร่วมเป็นกรรมการสภามหา วิทยาลัยอยู่แล้ว นอกจากนี้ ส.ว.ยังเพิ่มเติมให้ รมว.ศึกษาธิการ สามารถสั่งการยุติการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งผิดหลักการการให้อิสระแก่มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับรัฐก็ยังไม่มีการระบุอำนาจดังกล่าวของรัฐมนตรีไว้ เป็นต้น 4. เสนอผลงานวิจัยการศึกษา (เดลินิวส์ 9 มิ.ย.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ขอเชิญครูอาจารย์ ทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา บุคคล หน่วยงานองค์กรภาครัฐ และเอกชน ชุมชน และทุกภาคส่วนของสังคม ส่งผลงานวิจัยทางการศึกษาที่สำเร็จแล้ว หรือดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2544 ถึงปัจจุบัน ในการประชุมวิชาการการวิจัยทางการศึกษาครั้งที่ 11 วันที่ 26-27 มิถุนายน 2548 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ โดยประเด็นของงานวิจัยต้องเป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล โดยเน้นยุทธศาสตร์หลัก คือการพัฒนาคน และสังคมให้มีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักของหน่วยงานทางการศึกษา และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ในการส่งผลงานวิจัยทางการศึกษา หรือเข้าร่วมประชุมวิชาการ การวิจัยทางการศึกษา ครั้งที่ 11 ดังกล่าวได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ถนนสุโขทัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 0-2668-7123 ต่อ 1211, 1212 โทรสาร 0-2243-0085 หรือ www.onec.go.th 5. สกอ. จี้สภา ม.รัฐ สอบมาตรฐาน หลักสูตรพิเศษ (กรุงเทพธุรกิจ 9 มิ.ย.) ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช ทองโรจน์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกับ ดร.รุ่ง แก้วแดง รมช.ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเร็วๆนี้ รมช.ศธ. ได้เร่งรัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ถึงการดำเนินการเรื่องคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ทั้งประเด็นการเปิดรับนักศึกษาเกินสัดส่วนอาจารย์ที่มี หรือการเปิดหลักสูตรนอกสถานศึกษา ที่ต้องดูคุณภาพหลักสูตรและวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้สอนด้วย นอกจากนี้ในการจัดหาสถานที่ตั้ง ควรให้สมศักดิ์ศรีความเป็นอุดมศึกษา มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานตามเกณฑ์คุณภาพที่ สกอ.กำหนด เช่น มีห้องเรียน ห้องสมุด สถานที่ทำงานนอกเวลาเรียน และสถานที่พักผ่อน เป็นต้น ทั้งนี้ สกอ. ได้เริ่มดำเนินการสำรวจการรับรู้ของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ถึงการเปิดหลักสูตรนอกสถานที่ เพราะพบว่ามีบางมหาวิทยาลัย หรือบางภาควิชาที่ไปเปิดหลักสูตรกันเอง โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย ทั้งที่เรื่องนี้สภามหาวิทยาลัยควรรับรู้ก่อน และควรพิจารณาเปิดหลักสูตรบนพื้นฐานเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษาที่สกอ.กำหนด ซึ่งการสำรวจครั้งนี้น่าจะทำให้สภามหาวิทยาลัยหันมาสนใจเรื่องนี้มากขึ้น เพราะหากกระตุ้นให้สภามหาวิทยาลัยมีความเข้มแข็งมากขึ้นในทุกส่วนการบริหาร สกอ.ก็จะได้หมดห่วงเรื่องคุณภาพ |
|
สรุปข่าวส่งออกจากประชาสัมพันธ์
มก. กับสื่อแขนงต่างๆ (ระหว่างวันที่ 3 - 9 มิถุนายน 2548) | |
1. รับสมัครงาน |
|
2. วิจัย |
|
3. เชิญสื่อมวลชนทำข่าว |
|
4. ภาพข่าว |
|
5. การศึกษา |
|
6. บรรยาย / สัมมนา |
|